สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ลักษณะที่ตั้ง / อาณาเขต
เทศบาลตำบลเสริมงาม มีเนื้อที่ 10,937.50 ไร่ หรือคิดเป็น 17.5 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทต.ทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.เสริมกลางและ ทต.เสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทต.ทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทต.ทุ่งงาม และ อบต.เสริมกลาง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
แผนที่แสดงอาณาเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม

1.2 ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลเสริมงาม
เทศบาลตำบลเสริมงามเป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เดิมเป็นสุขาภิบาลเสริมงาม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2519 มีฐานะทางการคลังเพียงพอที่จะบริหารงานประจำของสุขาภิบาลได้ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 มีผลทำให้สุขาภิบาลเสริมงามเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลเสริมงาม เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด 17.5 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน มีพื้นที่หมู่บ้านในความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
ตำบลทุ่งงาม หมู่ที่ 2 บ้านนาบอน หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งงาม หมู่ที่ 4 บ้านมั่ว* หมู่ที่ 6 บ้านดอนแก้ว
หมู่ที่ 8 บ้านดอนงาม* หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งงามพัฒนา
ตำบลเสริมกลาง หมู่ที่ 5 บ้านศรีลังกา* หมู่ที่ 6 บ้านฮ่องฮี* หมู่ที่ 7 บ้านนาเอี้ยง หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งต๋ำ
หมู่ที่ 9 บ้านสบเสริม
ตำบลเสริมซ้าย หมู่ที่ 7 บ้านน้ำหลง*
หมายเหตุ * หมู่บ้านที่มีพื้นที่อยู่ในเขตเทศบาลบางส่วน
1.3 สภาพภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลเสริมงาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเสริมงาม ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเสริมงามประมาณ 0.50 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากจังหวัดลำปาง 45 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม
1.4 สภาพอากาศ
เขตพื้นที่เทศบาลตำบลเสริมงาม ประกอบด้วย 3 ฤดู โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมและฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พัดพานำมวลอากาศเย็น และแห้งเข้ามาปกคลุมส่งผลให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 การคมนาคม
การคมนาคมและการจราจรในเขตเทศบาลตำบลเสริมงามเป็นการขนส่งทางบกมีถนนลาดยางสายหลัก คือ สายลำปาง–ลี้ มีรถสองแถวรับจ้าง และรถเมล์เล็กรับจ้างเดินทางในตัวจังหวัดทุกวัน
2.2 การประปา ( ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ) จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาของเทศบาลตำบลเสริมงามมีทั้งสิ้น 1,263 ครัวเรือน น้ำประปา ที่ผลิตได้ประมาณ 850 ลบ.ม./วัน แหล่งน้ำดิบที่ใช้คือน้ำแม่ต๋ำ และไม่มีแหล่งน้ำดิบสำรอง
2.3 ไฟฟ้า
ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
2.4 การสื่อสาร
2.4.1 ประชาชนสามารถใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะและโทรศัพท์ส่วนบุคคลได้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในเขตเทศบาล
2.4.2 มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ให้บริการด้านไปรษณีย์ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง
2.4.3 มีสถานีวิทยุกระจายเสียง (วิทยุชุมชน) จำนวน 1 แห่ง
ลักษณะการใช้ที่ดิน
3.1 พื้นที่พักอาศัย จำนวน 559 ไร่
3.2 พื้นที่พาณิชยกรรม จำนวน 95 ไร่
3.3 พื้นที่ตัวหน่วยงานของรัฐ จำนวน 200 ไร่
3.4 สวนสาธารณะ/นันทนาการ จำนวน 350 ไร่
3.5 พื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 8,176 ไร่
3.6 พื้นที่ตั้งสถานศึกษา จำนวน 85 ไร่
3.7 พื้นที่ว่าง จำนวน 1,472.5 ไร่
ด้านเศรษฐกิจ
4.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ / รายได้ประชากร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคืออาชีพขายแรงงาน รับจ้างทั่วไป ค้าขาย รายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ 30,000 บาท / คน / ปี
4.2 การเกษตรกรรม
พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลเสริมงามส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพื่อใช้ในการเกษตร โดยคิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดจากพื้นที่เกษตรกรรม ในเขตเทศบาล จำนวน 8,176 ไร่ มีการใช้พื้นที่ในการทำนาข้าวมากที่สุด รองลงมาเป็นพื้นที่ไร่ พื้นที่สวนและไม้ผล ไม้ยืนต้น ที่อยู่อาศัย และพื้นที่ผักและไม้ดอกตามลำดับ
4.3 การอุตสาหกรรม
เทศบาลตำบลเสริมงาม ไม่มีแหล่งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเพียงแต่โรงสีข้าว ขนาดเล็ก จำนวน 6 แห่ง
4.4 การท่องเที่ยว
ในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
4.5 การปศุสัตว์
ลักษณะการปศุสัตว์ในท้องถิ่น ประชาชนนิยมเลี้ยงสุกร ไก่และวัว ซึ่งจะเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายและรับประทาน ซึ่งเป็นจำนวนน้อยด้านสังคม
5.1 ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม (ค่านิยม)
พื้นที่ตำบลเสริมงามมีภาษาประจำถิ่น คือ ภาษาเหนือ ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองดั้งเดิมประชากรส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีจิตใจงดงามเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ชอบช่วยเหลือกิจกรรมของส่วนรวมมีขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาต่อจากบรรพบุรุษ ได้แก่
ประเพณีตานข้าวใหม่ (ถวายข้าวใหม่) หลังจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วนำข้าวเปลือกเก็บในยุ้งฉางก่อนที่จะนำมาบริโภคในครัวเรือนนิยมนำไป ถวายพระในเดือน 4 เป็ง (วันขึ้นปีใหม่) และปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ
ประเพณีสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง) ช่วงระหว่างวันที่ 13–15 เมษายน ของทุกปี กิจกรรมที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตลอดทั้งปี การขนทรายเข้าวัดในวันที่ 14 เมษายน (วันเน่า) ถือเป็นการทดแทนทรายที่ติดเท้ามาเมื่อเดินออกจากบริเวณวัด
ตลอดทั้งปี การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันที่ 15 เมษายน (วันพญาวัน) เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สูงอายุ ให้ทุกคนมีความกตัญญูกตเวทีและวันนี้ถือเป็น วันพบญาติ ลูกหลานที่อยู่ต่างจังหวัด ก็จะกลับบ้านมารดน้ำดำหัวพ่อแม่ ผู้แก่ผู้เฒ่าที่เคารพนับถือ
ประเพณีการทำบุญในเทศกาลวันเข้าพรรษา– วันออกพรรษาเป็นการฝึกให้ทุกคนมีศีล สมาธิ ปัญญา
ประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากภัตร)ทำช่วงกลางพรรษา (เดือน 12 เป็ง) ส่วนใหญ่นิยมอุทิศส่วนกุศลไว้ภาคหน้าและบรรพบุรุษที่ล่วงลับด้าน พิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขึ้นบ้านใหม่ การบำเพ็ญกุศล การสืบชะตา เป็นต้น ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนพื้นเมืองต่างมีความเชื่อ ว่าใครก็ตามที่ปฏิบัติได้จะพบแต่ความสุขความเจริญและในทางกลับกัน ใครก็ตามที่ไม่นับถือปฏิบัติตามบรรพบุรุษอีกทั้งลบหลู่จะไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า นิยมทำกันเดือนเก้าเหนือ (ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษต้นตระกูล แต่ละครอบครัวที่เสียชีวิต ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
ประเพณีปอยข้าวสังข์ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการี ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะจัดตามฐานะของลูกหลาน
5.2 ผู้นำตามศรัทธาความเชื่อ
ผู้นำตามศรัทธา ความเชื่อเป็นไปตามกฎเกณฑ์ความเชื่อที่ใครก็ตามที่ถูกวางในตำแหน่งนั้น ๆ จะได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนในชุมชน นั้น ๆ และในขณะเดียวกันบุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้นำจะประพฤติปฏิบัติตนให้น่าเคารพนับถือยิ่งขึ้น ได้แก่ พระในแต่ละวัด (ตุ๊เจ้า) โดยเฉพาะเจ้าอาวาสและหากรูปใดมีพรรษามาก ๆ ประชาชนทั่วไปจะเรียกขานอย่างนอบน้อมว่า“ครูบา”กำนัน หรือผู้ใหญ่ บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านจะเรียกขานความเคารพว่า พ่อหลวง,พ่อกำนัน (ป้อหลวง,ป้อกำนัน)มัคนายกหรือปู่จ๋าน (จารย์วัด) หมายถึง ทิด(หนาน) ที่ทำหน้าที่เป็น ผู้นำในการทำพิธีทางศาสนา(ถ้าสึกจากพระเรียกว่า “หนาน”) ชาวบ้าน จะเรียกด้วยความเคารพว่า “พ่ออาจ๋านหรือปู่จ๋าน” (อาจ๋านหรือ ปู่จ๋าน คืออาจารย์)
กลุ่มที่รวมตัวกันตามความเชื่อในแต่ละหมู่บ้าน ได้แก่ กลุ่มหนุ่ม – สาว (กลุ่มเยาวชน) เป็นการรวมตัวของคนหนุ่มสาวในหมู่บ้านเพื่อทำกิจการบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ปัจจุบันมีกลุ่มหนุ่มสาวน้อยลงเพราะคนหนุ่มสาวในแต่ละหมู่บ้านมักจะไปเรียนหรือไปทำงานนอกหมู่บ้าน โอกาสที่จะกลับมาพบกันอย่างพร้อมเพรียงน้อยลง กลุ่มแม่บ้านหรือกลุ่มสตรีหรือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนไม่ว่างานบวช ถ้าบวชนาคนิยมแห่ลูกแก้ว ถ้าบวชพระไม่ต้องแห่ลูกแก้ว เข้าพิธี อุปสมบถได้เลย (การเป๊กตุ๊) งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพมักได้ความอนุเคราะห์จากกลุ่มแม่บ้าน ช่วยเหลือการประกอบอาหารเลี้ยงแขก ตลอดจนการต้อนรับผู้มาร่วมงานต่างๆ
5.3 การศึกษา
1) การศึกษาในระบบโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 6 แห่ง
– โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย
โรงเรียนอนุบาลเสริมงาม
โรงเรียนศรีลังกาวิทยา
โรงเรียนบ้านทุ่งต๋ำ
โรงเรียนวัดนาเอี้ยง
โรงเรียนชุมชนบ้านมั่ว
– โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ
โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม
2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง คือ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเสริมงาม
3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดนาเอี้ยง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเอี้ยง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งงามพัฒนา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฮ่องฮี
5.4 กีฬา นันทนาการ / พักผ่อน
1) สนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง
2) ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง
3) สวนสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง
4) สนามเด็กเล่น จำนวน 4 แห่ง
5.5 สาธารณสุข
1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ บ้านนาเอี้ยง หมู่ 7 ต.เสริมกลาง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.1 ภูมิอากาศ
1) อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส
2) อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 15 องศาเซลเซียส
6.2 แหล่งน้ำ
1) แม่น้ำแม่เสริม 2) แม่น้ำแม่เลียง 3) แม่น้ำแม่ต๋ำ 4) ลำห้วยโจ้
5) ลำห้วยแม่ลา 6) ลำห้วยแก้ง 7) ลำห้วยแม่ป๋อ 8) ลำห้วยแม่ยอน
9) ลำห้วยกันตี 10) ลำห้วยหลวง 11) ลำห้วยโป่ง 12) ลำห้วยเดื่อ 13) ลำห้วยดู่
7 ประชากรของเทศบาลตำบลเสริมงาม
ช่วงอายุประชากร จำนวนเพศชาย จำนวนเพศหญิง รวม
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม ชาย 34 คน หญิง 33 คน รวม 67 คน
1 ปีเต็ม – 2 ปี ชาย 47 คน หญิง 43 คน รวม 290 คน
3 ปีเต็ม – 5 ปี ชาย 96 คน หญิง 81 คน รวม 177 คน
6 ปีเต็ม – 11 ปี ชาย 206 คน หญิง 161 คน รวม 367 คน
12 ปีเต็ม – 14 ปี ชาย 103 คน หญิง 107 คน รวม 210 คน
15 ปีเต็ม – 17 ปี ชาย 127 คน หญิง 108 คน รวม 235 คน
18 ปีเต็ม – 25 ปี ชาย 446 คน หญิง 391 คน รวม 837 คน
26 ปีเต็ม – 49 ปีเต็ม ชาย 11,406 คน หญิง 1,429 คน รวม 2,835 คน
50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม ชาย 896 คน หญิง 911 คน รวม 1,801 คน
มากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป ชาย 893 คน หญิง 1,026 คน รวม 1,919 คน
รวม ชาย 4,254 คน หญิง 4,290 คน รวม 8,544 คน